สุนัข Ca ฟอสเฟตคาร์บอเนต (CPC)

ภาพรังสี

ก้อนนิ่วที่ทึบรังสีปานกลาง ผิวเรียบถึงขรุขระเล็กน้อย ลักษณะกลมหรือมีขอบเหลี่ยม และมักเป็นนิ่วที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อกลุ่ม Staphylococcus หรือ Proteus ที่ทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วลักษณะนี้ส่วนมากมักจะมีการเกิดร่วมกับนิ่วชนิดสตรูไวท์มากกว่าที่จะเกิดจากส่วนประกอบเพียงชนิดเดียว

ข้อมูลทั่วไป

เช่นเดียวกับนิ่วชนิดสตรูไวท์, นิ่วชนิดแคลเซียมฟอสเฟตคาร์บอเนต เป็นนิ่วที่มีผลมาจากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโดยแบคทีเรียชนิดที่สามารถสร้างเอ็นไซม์ยูรีเอส (Enzyme urease) การกลับมาเกิดซ้ำของนิ่วจึงมักเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีการจัดการและการป้องกันที่ดีพอ นิ่วชนิดแคลเซียมฟอสเฟตคาร์บอเนตยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขบางสายพันธุ์ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลตได้ด้วย (เช่น พันธุ์ชิสุห์, บิชอน, มิเนียเจอร์ ชเนาส์เซอร์ เป็นต้น) เราสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า การเพิ่มขึ้นของการขับแคลเซียมออกทางระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับการเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดนิ่วชนิดแคลเซียมฟอสเฟตคาร์บอเนต ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรักษาที่จะมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต (เช่น การทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น)

การวินิจฉัย

• เพาะเชื้อปัสสาวะทุก 1 ถึง 3 เดือนและมีอาการปัสสาวะ

ทางการแพทย์

• แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะ: การติดเชื้อประปราย - ให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อการเพาะเชื้อเป็นเวลา 3-7 วัน การติดเชื้อซ้ำ - ดูรายละเอียดคำแนะนำแคลเซียมฟอสเฟตคาร์บอเนต

โภชนาการ

• อาหารที่มีฟอสฟอรัส/แมกนีเซียม/โซเดียมต่ำที่ไม่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรดมากเกินไป (เช่น c/d multicare และอื่นๆ)

การตรวจสอบ

การเพาะเชื้อแบคทีเรียจากปัสสาวะเป็นครั้งคราว (ทุกๆ 3 เดือน) เป็นการจัดการและลดโอกาสการเกิดซ้ำของการติดเชื้อแบคทีเรียและการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ

เราแนะนำให้ศึกษาข้อมูลจากทางผู้ผลิตสำหรับคำแนะนำการใช้อาหารประกอบการรักษาโรคเพื่อทราบถึงรายละเอียดข้อบ่งใช้และข้อห้ามใช้สำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละตัว สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วม เราแนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารประกอบการรักษาโรคที่เฉพาะสำหรับโรคที่สำคัญก่อน

ลิงก์ไปยังคำแนะนำแบบเต็ม PDF

สุนัข Ca ฟอสเฟตคาร์บอเนต (CPC)
Back